วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555



ระบบการสื่อสารและการเรียนการสอน
     ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น 

ระบบการสื่อสาร (Communication System)
      การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร

การสื่อสารกับการเรียนการสอน
                พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ...การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล


ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.  กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS)                                                 
2.  การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test)                                                                                                          
3.  ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities)                                                                                                           
4.  การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test)
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสื่อสารโทรคมนาคม
ด้วยการพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ปัจจุบันก้าวไปสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือเรียกอย่างย่อว่ายุคไอซีทีจึงทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญยิ่งในเทคโนโลยีการศึกษาเนื่องจากความเอื้อประโยชน์หลายประการ ตัวอย่างเช่น
1. การเปลี่ยนการสอนของครุผู้สอน
2. การเปลี่ยนวิธีการเรียนของผู้เรียน
3. การเรียนอย่างกระตือรือร้น
4. วิธีการส่งบทเรียน
5. เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน
6. เป็นแหล่งข้อมูลอันกวางขวาง
7. สะดวกในการบริหารจัดการ

การสื่อสารทางการเรียนการสอน
 (Instructional Communication)
                ในสมัยปัจจุบันการที่จะเป็นครูผู้สอนที่ดี มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการสอนสูงดูจะเป็นสิ่งที่ยากกว่าแต่ก่อน ๆ นี้มากครูสมัยใหม่นี้จะต้องมีความรอบรู้และสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่นเกี่ยวกับผู้เรียน พฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียนหรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเนื้อหาสาระของวิทยาการต่าง ๆที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมทั้งสภาวะแวดล้อมอันยุ่งยากสับสน ความเปลี่ยนแปลงตลอดจนธรรมชาติ และความสามารถของแต่ละบุคคลในการศึกษาเล่าเรียน ครูจะต้องนำเอาความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ เหล่านี้มารวบรวม ประยุกต์และดัดแปลงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารการสอนต่อไปได้ด้วยในสมัยโบราณที่ผ่านมา การสอนเป็นไปตามวิธีการของการปลูกฝังความเชื่อมากกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์และครูผู้ประสบความสำเร็จในสมัยนั้นก็คือ ครูเป็นผู้สอนเนื้อหาและจัดการงานต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยตรงเพื่อผู้เรียน คือเน้นครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนนั่นเองปัจจุบันสภาพการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ครูผู้ประสบความสำเร็จจะเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารงานสอนและดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูล (Information)ที่จะถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน

อธิบายและยกตัวอย่างได้ เช่น ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ผู้ส่ง (Sender)
2. ผู้รับ (Receiver)
3. สาร (Message)
4. สื่อกลาง (Medium)
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
ในระบบการเรียนการสอน หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมี
ลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและ
กระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารโดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น
ตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน

                วิธีการสอน
ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครู
วิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญ
เท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
การทดสอบประสิทธิภาพ อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร ซึ่งต้อง
อาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบว่า การถ่ายทอดความคิด หรือการสื่อสารของ
ผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง และถ้ายังไม่ได้ผลดีจะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจน
แน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป ดังนั้นในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอน
จะต้องมีความเข้าใจและใช้หลักการและกระบวนการของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ด้วย
คือจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่ชัดเจน


เรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3ลักษณะ คือ
1.              วัสดุ (Material or Software) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จาก
ตัวมันเอง ได้แก่ หนังสือเรียนหรือตำรา ของจริง
หุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ
เป็นต้น
1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภท
เครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์ม
ภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียง
แผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการวิทยุ
รายการ โทรทัศน์ เป็นต้น
2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device orHardware) ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่าน
ของความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหว หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมาก
หรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว
3. เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Techniqueor Method) ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ


จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน

ที่ชัดเจนก็คือ จุดมุ่งหมายที่บอกพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของการเรียนการสอนในรูปของความสำเร็จที่
สังเกตเห็นได้ ซึ่งเรียกว่า จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral objective) การตั้งจุดมุ่งหมาย
เชิงพฤติกรรมในการเรียนการสอนนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนได้รับรู้ร่วมกันว่าพฤติกรรมขั้นสุดท้าย
หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนจะสามารถทำอะไรได้บ้าง

แนวคิด : เทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษายุคสังคมแห่งการเรียนรู้
                                ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า การแบ่งแยกทางดิจิตอล (Digital Divide) ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่าการแบ่งแยกความรู้ (Knowledge Divide)

การวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารหมายถึงการถ่ายทอดข่าวสารที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Miller)
การสื่อสาร คือการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร (Wilbur
Schramm)

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ของผู้
ส่งสาร
- เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)
- เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
- เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
- เพื่อเสนอหรือชักจูงใ

วัตถุประสงค์ของผู้รับ
สาร
- เพื่อทราบ
- เพื่อศึกษา
- เพื่อหาความพอใจ
- เพื่อการกระทำหรือตัดสินใจ

ลักษณะของการสื่อสาร

วิธีของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธีคือ
1. การสื่อสารด้วยวาจา(oral communication)เช่นการพูด การร้องเพลง
2. การสื่อสารที่มิใช่วาจา (NonverbalCommunication)และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน(written communication)เช่นภาษามือ ท่าทาง และ ภาษาเขียน
3.การสื่อสารด้วยการจักษุสัมผัสหรือการเห็น(visual Communication)

ลักษณะของการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร
- การสื่อสารทางเดียว(one - way communication)
- การสื่อสารสองทาง(two- way communication)

ลักษณะของการสื่อสาร
ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้ 4 ประเภทคือ
- การสื่อสารในตนเอง(intrapersonal or selfcommunication)
หมายถืงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่นการเขียนและอ่านหนังสือ
- การสื่อสารระหว่างบุคคล(InterpersonalCommunication)
- การสื่อสารแบบกลุ่มชน(group communication)
- การสื่อสารมวลชน(mass communication)